เว็บอีคอมเมิร์ซ ขายของออนไลน์ กับการเติบโตในเมืองไทย

เว็บอีคอมเมิร์ซ ขายของออนไลน์ กับการเติบโตในเมืองไทย

เว็บอีคอมเมิร์ซ กับการเติบโตในเมืองไทย

       ตั้งหลักออนไลน์ ขออัพเดท เว็บอีคอมเมิร์ซ ซึ่งเวลานี้กำลังเป็นกระแสหลักในเมืองไทยมากขึ้นเรื่อย ๆ และในเวลานี้ก็กำลังเป็นช่องทางค้าหลักในระดับโลก หรืออย่างน้อยก็เป็นการผสมผสานกับช่องทางออฟไลน์แบบดั้งเดิมด้วย
       ซึ่งในปีที่ผ่านมา สถานการณ์ของสงครามธุรกิจออนไลน์และเว็บอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยก็กำลังดุเดือดมาก มาลองดูกันว่า เวลานี้เว็บอีคอมเมิร์ซที่เข้ามาเจาะตลาดในไทย ใครคือเจ้าตลาด และใครที่กำลังมาแรง หรือมีข้อดีและข้อด้อยในภาพรวมอย่างไรบ้างครับ เพื่อเป็นประโยชน์ทั้งในส่วนของผู้ค้าและผู้บริโภคครับ

คนไทยใช้งานอินเทอร์เน็ตเกินครึ่งประเทศ 

     มีข้อมูลจากต้นปี 2019 ที่ผ่านมาว่า ประเทศไทยที่มีประชากรราว 69 ล้านคน มีสถิติการใช้งานอินเทอร์เน็ตมากกว่า 57 ล้านคน
     โดยแจงเป็นผู้อยู่อาศัยในเขตเมืองมากกว่า 53% หรือประมาณ 82% ของประชากรทั้งหมด สำหรับผู้ใช้งาน Active บนแอพลิเคชั่นบนมือถือ หรือผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียต่าง ๆ ในเวลานี้มีสัดส่วนการใช้งานอยู่ที่ประมาณ 51 ล้านคน หรือคิดเป็น 74% ของประชากรทั้งหมด และยังมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นในปีถัดไปอีกด้วย

อีคอมเมิร์ซแบบ B2C กำลังเติบโต 

     เนื่องจากในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยถือว่าเป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราการเติบโตของธุรกิจแบบ B2C (Business to Consumer) สูงเป็นอันดับที่ 1 ในอาเซียน เมื่อเปรียบเทียบมูลค่าระหว่างปี 2559 และ2560 พบว่า มีมูลค่าเพิ่มมากกว่า 1.6 แสนล้านบาท และคาดว่าแนวโน้มจะยังเพิ่มขึ้น
     สำหรับรูปแบบ B2C คือช่องทางอีคอมเมิร์ซที่ผู้ประกอบการหรือเจ้าของธุรกิจเป็นผู้ค้าให้กับผู้บริโภค
ปัจจัยที่ทำให้รูปแบบนี้เติบโตขึ้น นอกเหนือจากพฤติกรรมการใช้งานอินเทอร์เน็ตของคนไทยแล้ว ยังมาจากการพัฒนาระบบให้บริการของเว็บอีคอมเมิร์ซเองด้วยที่ทำให้เกิดความเชื่อมั่นของผู้บริโภคมากขึ้น ทั้งในเรื่องความปลอดภัยในการโอนเงิน การใช้งาน ไปจนถึงความสะดวกรวดเร็ว ในการขนส่ง แล้วยังมีการออกโปรโมชั่นทั้งเรื่องราคาและบริการต่าง ๆ อีกด้วย
     สำหรับสินค้าที่ได้รับความนิยมในช่องทางนี้ เช่น อาหาร เครื่องสำอาง สกินแคร์ อาหารเสริม ไลพ์สไตล์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หนังสือ เป็นต้น
อีกจุดที่ช่วยเพิ่มและกระตุ้นตลาดช่องทางนี้คือ การเพิ่มขึ้นของ Influencer และ YouTuber ที่เข้ามากระตุ้นการตลาด ช่วยดึงดูดผู้ซื้อ
     นอกจากนี้ ช่องทางอีคอมเมิร์ซยังสามารถเชื่อมต่อกับโซเชียลมีเดียเช่น Facbbook ซึ่งสามารถเริ่มทดลองตลาดผ่านช่องทางนี้ก่อนที่จะขยายออกไปก็ได้ 

Lazada ครองแชมป์

     เวลานี้ เว็บอีคอมเมิร์ซอันดับหนึ่งที่ครองตลาดในประเทศไทย ก็ไม่พ้น Lazada ซึ่งปัจจุบันถือว่าเป็นหัวหอกใหญ่สำหรับธุรกิจอีคอมเมิร์ซของบริษัท Alibaba หรือ อาลีบาบา ซึ่งผู้ให้บริการอีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่อันดับหนึ่งของจีน และยังเป็นช่องทางหลักที่ใช้สำหรับเจาะเข้าประเทศไทยและในภูมิภาคอาเซียนด้วย
     จากข้อมูลในปีที่ผ่านมา อาลีบาบายังลงทุนใน Lazada เป็นเงินมากกว่า 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อทุ่มให้ Lazada ครองตลาดและเข้าถึงการใช้งานของผู้คนในไทยและอาเซียนโดยเฉพาะ เรียกว่ายอมขาดทุนเลย ขอเพียงทำให้คนไทยใช้งาน Lazada มากขึ้นก็พอ ทั้งคนขายและคนซื้อด้วย

Shopee ช่องทางที่กำลังมาแรง

      อีกหนึ่งช่องทางที่มาแรงมาก สำหรับเว็บอีคอมเมิร์ซอย่าง Shopee เว็บชื่อดังจากสิงคโปร์ ซึ่งในเวลานี้มีบริษัท Tencent เข้ามาเป็นแบ็กอัพใหญ่ แล้วที่สำคัญคือในปี 2018 ที่ผ่านมา Shoppe สามารถทำยอดดาวโหลดผ่านทาง App Store สูงสุดเป็นอันดับหนึ่งในประเทศไทย และกำลังตี Lazada มากขึ้นทุกที
      ด้วยความที่เป็นเว็บอีคอมเมิร์ซที่เข้ามาในไทยหลังจาก Lazada ที่กำลังจับตลาดอยู่ ทำให้กลยุทธ์ของ Shopee ในช่วงแรกเน้นที่การอออกโปรโมชั่นลดราคากันอย่างเต็มที่สำหรับร้านค้าบนเว็บแต่ละแห่ง
      มีข้อดีมากคือ สามารถหาสินค้าที่มีราคาถูกสุด ๆ ได้ โปรโมชั่นแรง และหากเทียบกับ Lazada แล้ว ไม่ต้องเจอชาร์จค่าจัดส่งมาก

      สรุปในภาพรวม ในแง่ของผู้ค้าเอง ก็ต้องมีการปรับตัว ซึ่งอีคอมเมิร์ซในไทยกำลังเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ และไม่ควรตกขบวนครับ

===============================================

สามารถติดตามเรา PSO ( Passive Selling Online ) ได้หลายช่องทางดังนี้

Facebook Page: passivesellingonline

LINE: @psocourse (อย่าลืมใส่เครื่องหมาย @ ด้วยนะครับ)

สามารถติดตามเรา PSO ( Passive Selling Online ) ได้หลายช่องทางดังนี้
Facebook Page: passivesellingonline
LINE: @psocourse (อย่าลืมใส่เครื่องหมาย @ ด้วยนะครับ)

แบ่งปันเพื่อนของคุณ :

Facebook
Twitter
Pinterest
LinkedIn