เครื่องสำอางไทยส่งออกไปจีน โอกาสที่ยังเปิดกว้าง

เครื่องสำอางไทยส่งออกไปจีน โอกาสที่ยังเปิดกว้าง

เครื่องสำอางไทยส่งออกไปจีน โอกาสที่ยังเปิดกว้าง

เครื่องสำอางไทย ส่งออกไปจีน ยังมีโอกาสทางการตลาดอยู่อีกมากครับ ซึ่งในปัจจุบัน มีรายงานเกี่ยวกับความนิยมของสินค้าขายดีบนเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซยอดนิยมของจีนหลายแห่ง เช่น Taobao Tmall และอื่น ๆ ที่บ่งชี้ออกมาว่า ผลิตภัณฑ์กลุ่มเครื่องสำอาง สกินแคร์ ความสวยงาม ยังถือว่าเป็นกลุ่มสินค้ายอดนิยมอันดับต้น ๆ ในประเทศจีน ที่สำคัญคือเป็นหนึ่งในกลุ่มสินค้าที่นักท่องเที่ยวจีนให้ความสนใจสูงสุดในการมาเที่ยวประเทศไทยในเวลานี้ด้วย

เครื่องสำอาง ความนิยมสูงอันดับต้น ๆ

ไม่ต้องแปลกใจเลยครับ เพราะเทรนด์เรื่องการรักความสวยงาม การดูแลสุขภาพ ลดรอยเหี่ยวย่น ฯลฯ ถือว่าเป็นหนึ่งในเรื่องที่สาวชาวจีนทั้งน้อยใหญ่ต่างก็ชื่นชอบกันมาก

ที่สำคัญคือ ยุคนี้ไม่ใช่แค่ผู้หญิงเท่านั้นอีกแล้ว แต่ผู้ชายชาวจีนก็มีความสนใจด้านนี้มากขึ้น สินค้ากลุ่มสกินแคร์ และเครื่องสำอางสำหรับเพศชาย ก็เริ่มมีการเปิดกว้าง และกลายเป็นกลุ่มสินค้าตลาดขนาดใหญ่ในจีน ที่สำคัญคือ ส่วนหนึ่งยังเป็นผลมาจากกระแสที่คนมักติดตามไอดอลที่ตัวเองชื่นชอบทางโซเชียลมีเดีย เช่น Weibo หรือใน Tiktok ซึ่งมีการรีวิวสินค้าเหล่านี้กันอีกด้วย

ทั้งนี้ อัตราการเติบโตของสินค้ากลุ่มเครื่องสำอางและสกินแคร์ของจีนถือว่ามีการโตอย่างต่อเนื่องมาตลอดทุกปี แล้วจุดที่น่าสนใจคือ แม้ว่าในเวลานี้จีนจะมีการชะลอตัวทางเศรษฐกิจและผลจากสงครามการค้า แต่กลุ่มนี้กลับได้รับผลกระทบในส่วนนี้ไม่มากนัก หากกเปรียบเทียบกับสินค้าและบริการกลุ่มอื่น ๆ ซึ่งจะได้รับผลกระทบมากกว่า

นอกจากนี้ มีการเปิดเผยสถิติการส่งออกเครื่องสำอางไทยจากรายงานของกรมศุลกากรเมื่อสิ้นปี 2017 พบว่ามีมูลค่าสูงกว่า 8.2 หมื่นล้านบาท

สำหรับสินค้ากลุ่มนี้ ผู้ประกอบการที่จะส่งออกต้องทำเรื่องขออนุญาต ซึ่งมี 3 ประเภท ได้แก่

  • Safety and Health Quality Tests
  • Certificate for Imported Cosmetics
  • Certificate for Labeling of Import and Export

ทั้งนี้เรากล่าวได้ว่า พื้นที่ของตลาดเครื่องสำอาง ยังถือว่าเป็นตลาดขนาดใหญ่ โดยเฉพาะในระดับ Mass ไม่ว่าจะเป็นในตลาดกลุ่มตลาดล่าง ระดับกลาง และระดับสูง ที่ยังสามารถเปิดพื้นที่ให้ผู้เล่นเข้าไปอยู่อีกมาก แต่ที่ต้องระวังคือ การแข่งขันที่มีความรุนแรงเช่นกัน

ทิศทางและการเติบโต

มีข้อมูลที่ชี้ว่า GPD ของไทย ที่เติบโตขึ้นราว 3-4% ในปีที่ผ่านมา มีรายงานที่บ่งชี้ว่า สินค้ากลุ่มเครื่องสำอาง สกินแคร์ คือหนึ่งในกลุ่มที่มีการเติบโตอย่างสูงสุด โดยเฉพาะในระหว่างปี 2015-2018 แม้ว่าภาพรวมเศรษฐกิจจะชะลอตัวลงก็ตาม แต่สำหรับผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้ ถือว่ามีความเข้มแข็งอยู่มาก

มีการวิเคราะห์ว่า สาเหตุสำคัญเพราะ ผู้คนมีความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ดี ในการดูแลร่างกาย สุขภาพ ความสวยงาม เพื่อรักษาภาพลักษณ์ของตนเอง ผู้คนมีความต้องการที่จะใช้แชมพูสระผมที่ดี ช่วยให้หนังศีรษะไร้กลิ่นอับชื้น และคนจำเป็นต้องอาบน้ำ ใช้สบู่ ในขณะที่ผู้หญิงก็มีความจำเป็นต้องแต่งหน้าหรือทาโลชั่นทุกวัน นี่จึงเป็นตลาดที่มีความต้องการในระดับสูง และผลิตภัณฑ์ที่จะอยู่รอดได้ก็ต้องมีคุณภาพที่ดีด้วย ซึ่งในตลาดจีนเองนั้น ผลิตภัณฑ์ด้านนนี้ของจีนยังไม่ตอบโจทย์มากนัก ทำให้ตลาดนี้ในจีนมักเป็นสินค้านำเข้าจากต่างประเทศที่สามารถตีตลาดได้

สำหรับทิศทางและแนวโน้มในปีหน้าของธุรกิจนี้ในประเทศไทย คาดว่าจะมีอัตราเติบโตที่ร้อยละ 7.3 ต่อปี ซึ่งจะมีส่วนช่วย GDP ของประเทศในปี 2019-2022

ทั้งนี้ หากเปรียบเทียบกับกลุ่มประเทศในอาเซียนและเอเชียแปซิฟิก พบว่าตลาดสินค้าของไทยในกลุ่มนี้มีมูลค่าถึง 6.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2018 ที่ผ่านมา และคาดว่าจะเติบโตถึง 8 พันล้านเหรียญสหรัฐ ภายในปี 2002 ซึ่งจะตามหลังผู้นำในเอเชียอย่าง จีน ญี่ปุ่น อินเดีย เกาหลีใต้ และออสเตรเลีย แต่ก็ถือว่าไทยครองอันดับหนึ่งในอาเซียน

ช่องทางการจำหน่าย ทั้งออฟไลน์และออนไลน์

คนจีนเมื่อออกมาเที่ยวในต่างประเทศเวลานี้ แค่มีมือถือเครื่องเดียว ก็ทำได้แทบจะทุกอย่างแล้ว เพราะแอพลิเคชั่นที่ดาวโหลดไว้ ทำให้สามารถใช้จ่ายเงินด้วยระบบออนไลน์ได้

ในเวลานี้ จีนถือว่าเป็นประเทศที่มีส่วนแบ่งการตลาดของการค้าแบบเว็บอีคอมเมิร์ซเป็นอันดับหนึ่งของโลก การทำธุรกรรมออนไลน์กำลังได้รับความนิยมสูงมากขึ้นทุกปี จีนยังมีการใช้งานด้านนี้ผ่านแพลทฟอร์มยอดนิยมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นกระเป๋าเงินออนไลน์อย่าง WeChatPay Alipay หรือ เว็บอีคอมเมิร์ซอย่าง Taobao Tmall JD.com Aliexpress 1168 ไปจนถึงโซเชียลมีเดียอย่าง Weibo Tiktok Kwai ที่สามารถทำการตลาดในรูปแบบที่แตกต่างกันได้อีกด้วย

ข้อเด่นของช่องทางเหล่านี้คือ ทำให้คนจีนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม การบริโภค และการใช้จ่ายเงิน จากเงินสดมาเป็นเงินออนไลน์ ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้เงินสด แต่สามารถทำการแสกนผ่าน QR Code ได้ง่าย ๆ สามารถจ่ายเงินในต่างประเทศกับร้านที่ร่วมใช้แพลทฟอร์มเหล่านี้ได้โดยที่คนจีนเมื่อเดินทางออกไปท่องเที่ยวก็ไม่ต้องพกเงินสดติดตัว

ดังนั้นนี่จึงเป็นโอกาสสำคัญของผู้ประกอบการที่ต้องการจับกลุ่มนักท่องเที่ยวจีน โดยเฉพาะในเมืองไทยซึ่งนักท่องเที่ยวจีนนิยมเข้ามาซื้อจากเมืองไทยกลับไปเป็นของฝากจำนวนมาก ก็สามารถใช้จ่ายผ่านช่องทางเหล่านี้ได้ ซึ่งก็เริ่มมีการนำมาใช้งานกันแล้วจำนวนไม่น้อย เช่น หน้าร้านของ Duty Free ของ King Power เป็นต้น

ดังนั้นในส่วนของผู้ผลิตและเจ้าของกิจการรายย่อย จำเป็นที่จะต้องศึกษาช่องทางเหล่านี้ครับ เพราะมันคือโอกาสที่ไม่ควรพลาด

===============================================
สามารถติดตามเรา PSO ( Passive Selling Online ) ได้หลายช่องทางดังนี้
Facebook Page: passivesellingonline
LINE: @psocourse (อย่าลืมใส่เครื่องหมาย @ ด้วยนะครับ)

สามารถติดตามเรา PSO ( Passive Selling Online ) ได้หลายช่องทางดังนี้
Facebook Page: passivesellingonline
LINE: @psocourse (อย่าลืมใส่เครื่องหมาย @ ด้วยนะครับ)

แบ่งปันเพื่อนของคุณ :

Facebook
Twitter
Pinterest
LinkedIn