คำต้องห้ามสำหรับใช้โฆษณาอาหาร ฉบับใหม่
เนื่องจากประกาศครั้งล่าสุดที่มีผลบังคับใช้ไปแล้วเกี่ยวกับคำที่ห้ามใช้ในการโฆษณาอาหาร โดยเฉพาะบนออนไลน์ ซึ่งหากใช้แล้วถือว่าผิดกฎหมายครับ แล้วบางคำก็เป็นคำที่หลายคนและหลายเพจก็นิยมใช้กันด้วย
ซึ่งในประกาศดังกล่าวของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เรื่อง หลักเกณฑ์การโฆษณาอาหาร พ.ศ.2564 มีหลักการและเหตุผลคือ
1.เพื่อให้การโฆษณาอาหารมีความทันสมัยสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน มีความชัดเจน และเป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย แห่งพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ซึ่งมาตรา 40 ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาคุณประโยชน์ คุณภาพ หรือสรรพคุณของอาหาร อันเป็นเท็จหรือเป็นการหลอกลวง ให้เกิดความหลงเชื่อโดยไม่สมควร และมาตรา 41 ผู้ใดประสงค์จะโฆษณาคุณประโยชน์ คุณภาพ หรือสรรพคุณของอาหารทางวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ ทางฉายภาพ ภาพยนตร์ หรือทางหนังสือพิมพ์ หรือสิ่งพิมพ์อื่น หรือด้วยวิธีการอื่นใดเพื่อประโยชน์ในทางการค้า ต้องนำเสียง ภาพ ภาพยนตร์ หรือข้อความที่จะโฆษณาดังกล่าวนั้นให้ผู้อนุญาตตรวจพิจารณาก่อน เมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงโฆษณาได้
2.สำหรับการโฆษณาอาหาร หมายถึง การกระทำด้วยวิธีการใด ๆ ให้ประชาชนเห็น หรือทราบข้อความเกี่ยวกับอาหาร ส่วนประกอบของอาหาร เพื่อประโยชน์ในทางการค้า โดยประกาศใหม่นั้น มุ่งเน้นให้ การโฆษณาอาหารต้องไม่ใช้ข้อความในลักษณะที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภคหรือข้อความที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคมเป็นส่วนรวม การโฆษณาคุณประโยชน์ คุณภาพหรือสรรพคุณของอาหารต้องไม่มีลักษณะที่เป็นเท็จหรือหลอกลวงให้เกิดความหลงเชื่อโดยไม่สมควร
3.โดยการโฆษณาที่ไม่ต้องนำมาให้พิจารณา อาทิ การให้ข้อมูลทางวิชาการที่ไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ในทางการค้า การโฆษณาในลักษณะการเสนอภาพลักษณ์ของบริษัทหรือกิจการ
ในภาพรวมแล้ว จึงมีการกำหนดคำบางคำที่ใช้กันในการโฆษณาผลิตภัณฑ์อาหารที่ถูกห้ามใช้ครับ ซึ่งตัวอย่างเช่น อาหารเสริมสำหรับเด็กเล็ก ต้องไม่มีการสื่อให้เข้าใจว่า ทารกแรกเกิด – 12 เดือน สามารถทานได้ คือจะต้องไม่ทำให้เข้าใจว่ามีคุณค่าทางอาหารครบถ้วนเพียงพอต่อเด็กเล็กนั่นเอง
หรือกรณีของ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ซึ่งน่าจะเป็นหนึ่งในกลุ่มที่ละเอียดอ่อนที่สุด ถูกกำหนดให้ต้องมีการแสดงข้อความทางสื่อโฆษณาว่า ไม่มีผลในการป้องกันหรือรักษาโรค และต้องมี อ่านคำเตือนในฉลากก่อนบริโภค เป็นต้นสำหรับรายละเอียดอื่นๆ เราสามารถอ่านฉบับเต็มได้ที่ https://bit.ly/3uZwwVL
ที่มา ราชกิจจานุเบกษา ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง หลักเกณฑ์การโฆษณาอาหาร พ.ศ. 2564
===============================================
แม้ Content จะเป็นกุญแจสำคัญในการทำธุรกิจในยุคปัจจุบัน แต่หาก content ของคุณไม่เหมาะสม
ก็สามารถส่งผลกระทบต่อธุรกิจของคุณได้ จะดีกว่าไหมถ้าคุณให้เราช่วยเหลือเรื่องการตลาดออนไลน์
ด้วยประสบการณ์ของเราที่จะสามารถช่วยธุรกิจของคุณได้สามารถขอรับคำปรึกษาเบื้องต้นได้ที่
สามารถติดตามเรา PSO ได้หลายช่องทางดังนี้
Facebook Page: https://www.facebook.com/psospace
LINE: @psocourse (อย่าลืมใส่เครื่องหมาย @ ด้วยนะครับ)
IG: https://instagram.com/thetungluck
Youtube: https://www.youtube.com/channel/UCsCzGl5IdPTx0e9Gi1vyt6g