ข้อควรระวังการทำธุรกิจออนไลน์ประเภท Dropship สำหรับผู้เริ่มต้น และ ขั้นตอน ส่งออกไปต่างประเทศ เริ่มต้นยังไง สำคัญมาก

การทำ Dropship เป็นอีกหนึ่งกระแสในธุรกิจออนไลน์ที่กำลังมาแรง (แบบเงียบ ๆ) ซึ่งทางตั้งหลักออนไลน์เองก็เห็นว่าเป็นเรื่องดีสำหรับผู้เริ่มสนใจธุรกิจออนไลน์ทางอินเทอร์เน็ตจะได้ เนื่องจาก Dropship เป็นโอกาสเริ่มต้นที่ดีสำหรับการเริ่นต้นทำตลาดธุรกิจออนไลน์ โดยเฉพาะผู้ค้าปลีกรายย่อย ซึ่งส่วนมากแล้วยังไม่ต้องการลงทุนสต็อกสินค้า หรือไม่อยากเสี่ยงเกินไป แล้วยังเป็นโอกาสของคนที่อยากมีรายได้เสริมด้วย

ข้อควรระวังการทำธุรกิจออนไลน์ประเภท Dropship สำหรับผู้เริ่มต้น และ ขั้นตอน ส่งออกไปต่างประเทศ เริ่มต้นยังไง สำคัญมาก

ข้อควรระวังการทำ Dropship สำหรับผู้เริ่มต้น

การทำ Dropship เป็นอีกหนึ่งกระแสในธุรกิจออนไลน์ที่กำลังมาแรง (แบบเงียบ ๆ) ซึ่งทางตั้งหลักออนไลน์เองก็เห็นว่าเป็นเรื่องดีสำหรับผู้เริ่มสนใจธุรกิจออนไลน์ทางอินเทอร์เน็ตจะได้ เนื่องจาก Dropship เป็นโอกาสเริ่มต้นที่ดีสำหรับการเริ่นต้นทำตลาดธุรกิจออนไลน์ โดยเฉพาะผู้ค้าปลีกรายย่อย ซึ่งส่วนมากแล้วยังไม่ต้องการลงทุนสต็อกสินค้า หรือไม่อยากเสี่ยงเกินไป แล้วยังเป็นโอกาสของคนที่อยากมีรายได้เสริมด้วย

แต่ก็มีข้อควรระวังครับ ซึ่งสามารถพบได้ทั้งมือใหม่และผู้ที่มีประสบการณ์ เพราะการทำธุรกิจออนไลน์ Dropship ก็ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบเสมอไป แต่มีปัญหาและอุปสรรคเช่นกัน มาดูว่ามีอะไรบ้าง

การทำธุรกิจออนไลน์ Dropship คืออะไร

หลายคนน่าพอจะทราบกันอยู่แล้วว่า การทำธุรกิจออนไลน์ Dropship ก็คือ การนำสินค้าของคนอื่นมาขายต่อ โดยไม่ต้องสต็อกสินค้า

ลักษณะของการขายแบบนี้ก็คือ เรามีสิทธิที่จะนำรูปภาพและรายละเอียดของสินค้าที่ปรากฏอยู่บนหน้าเว็บไซต์ของผู้ผลิตหรือโรงงาน แล้วนำไปเสนอขายต่ออีกที ซึ่งแน่นอนว่าเราในฐานะคนกลางก็สามารถบวกกำไรเข้าไปอยู่ในราคาของสินค้านั้น โดยที่เราไม่จำเป็นต้องส่งสินค้าหรือประกันสินค้านั่นเอง

จึงสรุปได้ว่า การทำ Dropship ก็คือการที่เราทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการนำสินค้าจากผู้ผลิตหรือจากโรงงานนำไปขายต่อโดยไม่จำเป็นต้อง Order สินค้าก่อน แล้วเราสามารถที่จะวางขายในช่องทางใดก็ตามกลุ่มเป้าหมายของลูกค้า โดยเฉพาะช่องทางธุรกิจออนไลน์อีคอมเมิร์ซครับ

ข้อดีของการทำธุรกิจออนไลน์ประเภท Dropship

ข้อดีมีหลายด้านครับ เพราะมันเป็นโอกาสให้คุณสามารถตั้งตัวได้ในระยะสั้นถึงปานกลาง โดยที่คุณแทบจะไม่ต้องมีเงินทุนมากนัก ขอแค่มีความตั้งใจและหมั่นศึกษาการทำตลาดด้านธุรกิจออนไลน์นี้เพิ่ม ก็สามารถเป็นเจ้าของร้านค้าออนไลน์และออฟไลน์ได้แล้ว

ข้อดีคือมันไม่เหมือนการซื้อมาขายไปปกติ เราไม่จำเป็นต้องประกันสินค้าด้วยตนเอง สินค้ามักมีความหลากหลาย ถ้าเทียบกับการนำเข้าส่งออกทั่วไป ถือว่ามีความเสี่ยงต่ำ คุณไม่ต้องเสี่ยงสั่งสินค้ามาสต็อกไว้ แล้วอีกอย่างก็คือ เราสามารถเริ่มต้นธุรกิจได้ง่ายๆครับ

สำหรับกรณีของการทำธุรกิจออนไลน์ Dropship จากจีน สินค้าบางประเภทมีความหลากหลายสูงมาก และมีผู้ผลิตมากด้วย ต้องเลือกแต่ละรายให้ดีเช่นกันครับ

มีข้อควรระวังอะไรบ้างครับ

แน่นอนว่าทุกเรื่องมีสองด้านเสมอครับ การทำธุรกิจออนไลน์ Dropship ในหลายประเทศมีการแข่งขันที่รุนแรงมาก จึงต้องพิจารณา และวางแผนไว้ด้วย มาดูว่ามีอะไรบ้าง

1.ระยะยาวแล้วอาจจะไม่มั่นคงเท่าไร

ข้อด้อยหรือจุดที่ควรระวังก็คือ ในระยะยาวยิ่งเราทำไป มันก็คือการช่วยให้ธุรกิจออนไลน์ของคนอื่นเติบโตขึ้น ซึ่งฝั่งเราเองอาจจะไม่ยั่งยืน ถ้าหากว่าเราผูกติดกับผู้ผลิตเพียงไม่กี่รายครับ เพราะในยุคนี้ใครก็สามารถเข้าถึงแหล่งผลิตกันได้

นอกจากนี้ ผู้ผลิตเองก็สามารถทำตลาดเองได้โดยไม่ต้องพึ่งพาเรา ถ้าหากว่าสินค้าหรือยี่ห้อของเขาติดตลาดขึ้นมา ในกรณีของการนำเข้าสินค้า ดังนั้นในระยะยาวแล้วอาจจะไม่ยั่งยืนเท่าไรนัก

2.ปัญหาเรื่องคุณภาพสินค้า

ข้อด้อยอีกเรื่องที่ต้องระวังคือ คุณภาพสินค้า ถ้าหากมาตรฐานตก เราก็อาจจะเสียความน่าเชื่อถือและฐานลูกค้าได้เหมือนกัน ซึ่งเป็นปัจจัยที่เราเองก็ควบคุมได้ยากครับ

3.คู่แข่งมาก เพราะทุกคนทำได้

เนื่องจากเป็นการทำธุรกิจออนไลน์ประเภท Dropship นี้ไม่ต้องมีการลงทุนอะไร นั่นก็ยิ่งทำให้มีโอกาสเพิ่มการแข่งขันที่รุนแรงไปด้วย โดยเฉพาะถ้าเจอกับร้านค้าคู่แข่งที่เขาสามารถทำโปรโมชั่น ส่วนลด และเข้าถึงลูกค้าได้ดีกว่าเรา หรือหาแหล่งผลิตสินค้าได้มีคุณภาพดีกว่าในกลุ่มสินค้าประเภทเดียวกัน

4.ควบคุมราคาราคาไม่ได้ 

ปัญหาข้อนี้มีแนวโน้มที่เริ่มพบกันมากขึ้น นั่นคือ การควบคุมราคา เราแทบจะทำไม่ได้เลย เพราะมันขึ้นอยู่กับเจ้าของโรงงานเป็นหลัก ยิ่งถ้าเป็นการทำ Dropship กับสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ

แล้วถ้ามีการแข่งขันสูงจนเกิดการกดราคาสินค้าราคาประเภทนั้นให้ถูกลงมาก ในฐานะผู้ค้าปลีกรายย่อยแล้วเราก็แทบจะไม่เหลือกำไรด้วย เรียกว่าทำไปไม่คุ้ม

5.อาจทำให้เสียเวลาและความน่าเชื่อถือ

การทำธุรกิจออนไลน์ Dropship จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อลูกค้ามี Order เข้ามาแล้วโอนเงินตามสั่ง ซึ่งเราก็จะโอนเงินให้กับผู้ผลิตหรือโรงงานเพื่อสั่งสินค้าอีกที หากว่าฝั่งโรงงานผิดนัดส่งสินค้า หรือสินค้ามีปัญหา เราก็เพียงแค่โอนเงินกลับให้ลูกค้าก็เท่านั้น

แต่ถ้าเจอปัญหาลักษณะนี้มาก ๆ มันก็จะส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของเราได้เช่นกัน นอกจากนั้นมันก็เป็นเรื่องของการเสียเวลาด้วยครับ

โดยสรุปแล้ว การทำธุรกิจออนไลน์ Dropship ก็มีข้อควรระวังไม่น้อย เพราะมันแทบจะเป็นเหมือนการจับเสือมือเปล่า และอาจจะไม่เหมาะกับการทำระยะยาว แต่ถ้าหากเรามีช่องทางกระจายสินค้าที่ดี หรือมีฐานลูกค้าในกลุ่มสินค้าประเภทนั้นมาก มันก็ทำกำไรได้เช่นกัน และยังเป็นการเปิดโอกาสให้เราได้เริ่มต้นธุรกิจของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นรายได้เสริม หรือธุรกิจส่วนตัว เหมาะสำหรับการรวบรวมเงินทุนระยะสั้นเพื่อใช้ต่อยอดด้วยครับ

ขั้นตอน ส่งออกไปต่างประเทศ เริ่มต้นยังไง สำคัญมาก

ขั้นตอนการส่งออกสินค้าไปขายต่างประเทศ เริ่มต้นยังไงดี มีข้อสำคัญที่ควรทราบเพื่อเตรียมความพร้อมเบื้องต้นก่อนจะส่งออกสินค้า (Export) ซึ่งถือว่าเป็นทางออกสำคัญสำหรับผู้ประกอบการไทยทุกระดับ 

มาดูกันว่าขั้นตอนที่แนะนำมีอะไรบ้าง

1.โรงงานต้นทาง (Exporter/Shipper)

ไม่ว่าจะเป็นการส่งออกหรือนำเข้าสินค้า ต้องชัดเจนก่อนว่า โรงงานนั้นผลิตสินค้าอะไร อยู่ที่ไหน สินค้าประเภทใด เรียกง่ายๆว่าต้องมีสถานที่ต้นทางของสินค้าที่ชัดเจน

แต่ถ้าคุณไม่ใช่เจ้าของโรงงานเอง ก็ต้องหาโรงงานผู้ผลิต หลังจากนั้นก็อยู่ที่การดีล เจรจา ซื้อขาย การตกลงเรื่องสั่งออเดอร์ เตรียมผลิตสินค้าให้พร้อมก่อนส่งออก

2.ระบบขนส่ง (Logistics)

เตรียมขนสินค้า เช่น ใช้ระบบขนส่งทางรถยนต์เพื่อไปถ่ายสินค้ายังท่าเรือหรือท่าอากาศยาน เพื่อส่งออกต่อไป 

3.พิธีการศุลกากรขาออก (Outbound Customs Clearance)

เป็นขั้นตอนสำคัญที่ตัวแทนขนส่งสินค้าระหว่างประเทศจะต้องแสดงสินค้าต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากร 

4.ขึ้นเครื่องบินหรือท่าเรือ (Port of Loading)

หลังจากศุลกากรได้ตรวจสินค้าและอนุญาตแล้ว ก็สามารถส่งสินค้าขึ้นเครื่องบินเพื่อส่งออกได้เลย

 

5.ปลายทาง (Port of Discharge หรือ POD)

เมื่อสินค้าเดินทางมาถึงประเทศเป้าหมายในการส่งออกหรือผู้ซื้อ สินค้าก็จะถูกส่งเข้าโกดังเพื่อรอให้ผู้ซื้อหรือตัวแทนและศุลกากรมาตรวจรับเพื่อให้ปล่อยสินค้าออกต่อไป

 6. พิธีการศุลกากรขาเข้า (Inbound Customs Clearance)

เป็นขั้นตอนที่จ้าหน้าที่ศุลกากรจะทำการตรวจสินค้าที่นำเข้ามาว่าตรงตามที่ได้มีการแจ้งไว้หรือไม่ รวมถึงตรวจสอบว่ามีการเสียภาษีถูกต้องและไม่เป็นสินค้าควบคุมหรือไม่ 

ทั้งนี้หากว่าตรวจสอบแล้วไม่พบปัญหา ก็สามารถขนออกจากท่าเรือและท่าอากาศยานได้เลย แต่หากตรวจพบว่าติดขัดปัญหาก็จะไม่ได้รับอนุญาต

 7.ขนส่งจากท่าเรือ (Trucking)

สินค้าออกจากโกดัง แล้วได้รับการขนส่งไปยังลูกค้าหรือตัวแทน

 

8.ผู้ซื้อรับสินค้า (Consignee)

ขั้นตอนสุดท้ายของการส่งออก ซึ่งผู้ซื้อควรตรวจสอบความเรียบร้อยของสินค้าก่อนรับมอบสินค้านำเข้ามาแล้วทุกครั้ง

 

อย่างไรก็ตาม การส่งออกและนำเข้าสินค้าของแต่ละประเทศทั่วโลก มีระยะเวลาและข้อกำหนดบางอย่างที่แตกต่างกันไป แล้วยังอาจมีบางช่วงเวลาที่สินค้าบางประเภททุกจำกัดด้วย

สามารถติดตามเรา PSO ( Passive Selling Online ) ได้หลายช่องทางดังนี้
Facebook Page: passivesellingonline
LINE: @psocourse (อย่าลืมใส่เครื่องหมาย @ ด้วยนะครับ)

แบ่งปันเพื่อนของคุณ :

Facebook
Twitter
Pinterest
LinkedIn