Perfect Storm วิกฤติเศรษฐกิจโลก ที่เราต้องเตรียมตัวรับมือ

Perfect Storm

Perfect Storm วิกฤติเศรษฐกิจโลก ที่เราต้องเตรียมตัวรับมือ

4 เรื่องที่คุณต้องรู้ เพื่อเตรียมรับมือกับ Perfect Storm วิกฤติเศรษฐกิจโลก มรสุมที่กำลังก่อตัวในปี 2023 ด้วยปัญหามากมายที่โลกต้องเผชิญ จากกการประชุม WEF (World Economic Forum) ที่ผ่านมา ว่าแรงกระแทกจากพายุในครั้งนี้ อาจหนักหนากว่าที่คิด หากเราไม่เตรียมพร้อมรับมือ

Perfect Storm คืออะไร?

จากที่คุณท็อบ จิรายุส (จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา) ผู้ก่อตั้งบริษัท Bitkub Online Co., Ltd. หนึ่งในผู้ได้รับเชิญให้เข้าร่วมงาน WEF (World Economic Forum) ณ กรุงดาวอส ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ เมื่อ 18 มกราคม ที่ผ่านมา ได้ออกมาบอกเล่าข้อมูลของการประชุมผ่าน YouTube Channel ชื่อ ToppJirayut ของเขาเอง เกี่ยวกับวิกฤติที่โลกต้องเผชิญ ว่าปัญหาต่างๆ หลายด้าน ได้ถาโถมเข้ามาพร้อมกัน จนเกิดเป็น Perfect Storm มรสุมลูกใหญ่ ที่เป็นวิกฤติครั้งสำคัญของโลก โดยทางคุณท็อป จิรายุส ได้สรุปผลกระทบของ Perfect Storm ที่ผู้นำจากทั่วโลกกล่าวถึง ว่าจะเกิดเป็นผลกระทบต่อเศรษฐกิจในภาพใหญ่ ออกเป็นหัวข้อหลัก 3 ข้อคือ

  • ภาวะโลกร้อน (climate change): ภาวะโลกร้อน ได้ส่งผลอย่างรุนแรงต่อทรัพยากรธรรมชาติ เกิดเป็นผลกระทบลูกโซ่ ในระบบ Supply Chain และหากเราไม่ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน ภายในไม่กี่ปีนี้ อาจรุนแรงจนไม่สามารถแก้ไขได้แล้ว
  • ประชากรผู้สูงอายุ (Aging population): ประชากรที่เกษียณแล้วเพิ่มขึ้น แต่อัตราการเกิด และแรงงานที่เข้าสู่ระบบการผลิตลดลง ทำให้ภาคการผลิตมีกำลังลดลง จนอาจน้อยกว่าการบริโภค ส่งผลให้ราคาสินค้าสูงขึ้น จากการขาดแคลนสินค้า ทำให้วิกฤติขาดแคลนอาหาร อาจรุนแรงขึ้นอีกทั่วโลก
  • การเปลี่ยนผ่านของยุคเทคโนโลยี (Technology Disruption): AI (Artificial Intelligence) จะเข้ามามีบทบาทในภาคธุรกิจ ทั้งเจ้าของกิจการและคนทำงาน ต้องรีบปรับตัว เพื่อทำงานร่วมกับ AI ในเศรษฐกิจยุคใหม่
Perfect Storm

ผลกระทบ 4 เรื่องที่เราต้องเผชิญจาก Perfect Storm 2023

จากผลกระทบในภาพใหญ่ที่คุณท็อป จิรายุส ได้กล่าวไว้ ทางเราขอยกผลกระทบที่เป็นพายุลูกเล็ก ก่อนจะผสมโรงเป็นมรสุมในครั้งนี้ ซึ่งเราคิดว่าเป็นเรื่องใกล้ตัวที่เกิดจาก Perfect Storm วิกฤติเศรษฐกิจโลก มา 4 เรื่องดังนี้ครับ

เงินเฟ้อและการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลาง (Inflation and Policy Interest)

เงินเฟ้อ คือภาวะที่มูลค่าของเงินลดลง ทำให้ต้องซื้อสินค้าปริมาณเท่าเดิม ในราคาที่สูงขึ้น หรือก็คือภาวะของแพง ที่เราเผชิญกันอย่างหนัก ในช่วงสถานการณ์โรคระบาด ซึ่งในปีที่ผ่านมาประเทศไทยมีเงินเฟ้อสูงถึง 7.61% ทำให้ธนาคารกลาง ต้องขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.25% จากเดิม 1% เป็น 1.25% เพื่อต้านเงินเฟ้อ และมีการคาดว่าอาจจะมีการปรับขึ้นอีกในปี 2566 ส่งผลให้เศรษฐกิจชะลอตัว ทำให้ดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อคนทำธุรกิจ และคนที่กำลังผ่อนบ้าน ผ่อนรถ กับธนาคารอาจต้องจ่ายดอกเบี้ยที่แพงขึ้น

การเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อภาคธุรกิจ (Technology disruptions)

การมาถึงของ AI (Artificial Intelligence) ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ในภาคธุรกิจ ตัวอย่าง AI ที่เรารู้จักกันดีเช่น Chat GPT ที่อาจเข้ามาเปลี่ยนโลกของการทำงาน ซึ่งจะทำให้ภาพรวมของธุรกิจ เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง เจ้าของธุรกิจต้องปรับตัวเพื่อนำ AI มาใช้ประโยชน์ รวมถึงคนทำงานที่ต้องอัพสกิลตัวเอง หรือปรับตัวนำ AI มาใช้ในการทำงาน เพราะอย่างที่มีข่าวว่า บริษัทยักษ์ใหญ่ทั่วโลกมีการ Lay off พนักงานออกรวมหลายหมื่นคน ดังนั้นเราต้องรีบปรับตัว และอยู่ร่วมกับมัน เพราะตอนนี้ยุคของ AI ได้มาถึงจริงๆ แล้ว

วิกฤติห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chains Disruption)

Supply Chain หรือ “ห่วงโซ่อุปทาน” เป็นห่วงโซ่ของภาคการผลิตและบริโภคทั้งหมด ตั้งแต่ ทรัพยากร การผลิต การขนส่ง ไปจนถึงตลาดซื้อขาย และผู้บริโภค ซึ่งในช่วงสถานการณ์โรคระบาดที่ผ่านมา เกิดการติดขัดในการผลิต และการขนส่ง ซึ่งส่งผลกระทบทั้งต้นน้ำ และปลายน้ำ ทำให้ราคาสินค้าพุ่งสูงอย่างต่อเนื่อง เนื่องจาก Supply Chain ไม่สามารถจัดหาสินค้า ให้เพียงพอต่อความต้องการได้

นโยบายปลอดก๊าซคาร์บอนหรือก๊าซเรือนกระจก (Net Zero)

นโยบาย Net Zero คือนโยบายเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน หรือก๊าซเรื่อนกระจก หรือเราอาจจะได้ยินกับบ่อยๆ ว่า Carbon Footprint (คาร์บอนฟุตปริ้นท์) ให้เหลือ 0 ให้ได้ ซึ่งเป็นเรื่องหนึ่งที่ในงาน WEF (World Economic Forum) ให้ความสำคัญ และเป็นที่ถกเถียง ถึงแนวทางการหาทางออกให้นโยบาย Net Zero กันอย่างมาก โดยเฉพาะการใช้ Green Product (สินค้าที่ไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอน ทั้งตัวสินค้าเอง และกระบวนการผลิตทั้งหมด) การใช้ Green Energy (พลังงานสะอาดที่ไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอน) ทำให้หลายๆ บริษัทยักษ์ใหญ่ของโลก และภาครัฐของหลายประเทศ ได้เล็งออกนโยบายการใช้ Green Product และ Green Enegy กันอย่างจริงจัง เป็นอีกเรื่องที่เราต้องปรับตัว ทั้งภาคธุรกิจการท่องเที่ยวที่ต้องหันมาสนใจ Grenn Enegy และภาคการส่งออกที่ต้องทำให้สินค้าเป็น Green Product

ปรับตัวและเอาตัวรอดจาก Perfect Storm อย่างไร

คำแนะนำหนึ่งจากคุณท็อบ จิรายุส คือ “ถือเงินสดเอาไว้ให้มากที่สุด” เพราะเราไม่อาจรู้ได้เลยว่าพายุลูกนี้จะเหวี่ยงอะไรเข้ามาอีกบ้าง ทางรับมือที่ดีที่สุดคือการเตรียมพร้อม จัดการการเงินของตัวเองให้ดี พัฒนาสกิลตัวเองสำหรับอนาคต ธุรกิจก็ต้องวางแผนการตลาด ปรับโมเดลธุรกิจให้ทันโลก และการนำ AI มาปรับใช้ เพื่อเตรียมพร้อมรับมือ กับพายุที่กำลังจะพัดเข้ามา

——————————————-

ทุกวันนี้โลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ความสามารถในการปรับตัว ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการเอาตัวรอด รวมถึงการทำธุรกิจก็ต้องปรับตัวตลอดเวลา ต้องคอยอัพเดทให้ทันกับสถานการณ์ ซึ่งการหาข้อมูลมาลองผิดลองถูกเอง ก็อาจใช้เวลานานและไม่ตอบโจทย์กับธุรกิจของคุณ แต่ในคลาสเรียนของ PSO เรารวบรวมทุกอย่างไว้ให้คุณในคอร์สเรียน อัพเดททุกเทรนด์โลก ให้คุณตั้งหลักธุรกิจได้ ในช่วงเวลาของ Perfect Storm หากสนใจ คลิกที่นี่ เพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้เลย

ขอบคุณข้อมูลจาก

bbc.com / weforum.org / ธนาคารกลางแห่งประเทศไทย / ธ.กรุงศรี / ไทยรัฐออนไลน์

สามารถติดตามเรา PSO ( Passive Selling Online ) ได้หลายช่องทางดังนี้
Facebook Page: passivesellingonline
LINE: @psocourse (อย่าลืมใส่เครื่องหมาย @ ด้วยนะครับ)

แบ่งปันเพื่อนของคุณ :

Facebook
Twitter
Pinterest
LinkedIn