Lazada เป็นช่องทางธุรกิจออนไลน์อีคอมเมิร์ซ ที่กำลังมาแรงที่สุดในประเทศไทยในเครือของ Alibaba ซึ่งทาง ตั้งหลักออนไลน์ เองก็ขอรวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจว่า มีเรื่องอะไรบ้างที่คนไทยควรทราบครับ
ไทยถูกเล็งว่าจะเป็น Hub ด้านดิจิทัลของอาเซียน
เนื่องจากยุทธศาสตร์ของหลายประเทศ ที่มองว่าประเทศไทยเป็นหนึ่งใน Hub ทางด้านดิจิทัลในภูมิภาคอาเซียน ในเวลานี้เครือยักษ์ใหญ่ของจีนธุรกิจออนไลน์อย่าง Alibaba ก็ได้เข้ามาตกลงร่วมลงนามใน MOU กับประเทศไทยไว้หลายเรื่อง โดยเฉพาะในด้านการลงทุนระบบ Logistics เพื่อรองรับธุรกิจออนไลน์อีคอมเมิร์ซ ซึ่งกำลังมี Lazada เป็นหัวหอกสำคัญทางด้านนี้
ดังนั้นแพลตฟอร์มธุรกิจออนไลน์อีคอมเมิร์ซและการพัฒนาทางด้านดิจิทัลกับตลาดไทยแบบออฟไลน์ดั้งเดิม จึงต้องเผชิญหน้าการเปลี่ยนแปลงและการผสมผสานกับช่องทางออนไลน์ที่ยังไงก็ตามจะเข้ามาในไทยแน่น Asean, flags, maps, emblems, Island Info Samui
ธุรกิจออนไลน์อย่าง Lazada ยอมขาดทุนเพื่อเจาะตลาด
เรื่องนี้ไม่ต้องแปลกใจ เพราะแบ็กอัพใหญ่ของธุรกิจออนไลน์อย่าง Lazada ก็คือเครือ Alibaba ของแจ็คหม่า ซึ่งเข้ามาซื้อกิจการของ Lazada เพื่อให้เป็นหัวหอกด้านธุรกิจออนไลน์อีคอมเมิร์ซในอาเซียนเป็นหลัก
จากการทุ่มทุน Alibaba มากกว่า 2,000 ล้านเหรียญ เป้าหมายหลักจึงอยู่ที่ความต้องการส่งเสริมและผลักดัน Lazada ให้เป็นช่องทางอีคอมเมิร์ซอันดับหนึ่งในไทยและอาเซียนให้ได้ แน่นอนว่าผลประกอบการในช่วง 3-4 ปีหลัง แม้ว่าจะขาดทุนมาโดยตลอด แต่ก็มีจำนวนที่น้อยลงเรื่อย ๆ ซึ่งกลยุทธ์ที่หลายฝ่ายวิเคราะห์ไว้ก็คือ Lazada ถูกทำให้เป็นช่องทางนำเสนอในการดึงจำนวนผู้ใช้งานให้เข้ามามากที่สุดก่อน
แล้วในเวลานี้คงต้องยอมรับว่าธุรกิจออนไลน์ของ Lazada ได้กลายเป็นช่องทางธุรกิจออนไลน์อีคอมเมิร์ซอันดับหนึ่งในประเทศไทยไปแล้ว
อีคอมเมิร์ซจากจีนกำลังขึ้นเป็นเบอร์หนึ่ง
ในเวลานี้ ธุรกิจออนไลน์อีคอมเมิร์ซของจีน กำลังกลายเป็นตลาดธุรกิจออนไลน์ใหญ่สุดของโลก ซึ่งในด้านนี้กำลังแซงหน้าสหรัฐอเมริกาไปแล้วด้วย
ซึ่งถ้าอ้างอิงข้อมูลจากนิตยสาร Forbe ระบุว่าในปี 2015 ผู้ใช้บริการระบบกระเป๋าเงินออนไลน์ E-Wallet ของจีน ซึ่งมีมูลค่าใช้งานอยู่ที่ 340,000 ล้านหยวน แต่ในปี 2017 ตัวเลขก็พุ่งไปแตะที่ 9,000,000 หยวน เลยทีเดียว
นั่นเท่ากับว่า พฤติกรรมการบริโภค การจ่ายเงินซื้อสินค้าของคนจีนและนักท่องเที่ยวจีนที่ออกไปต่างแดน ก็กำลังอยู่บนโลกออนไลน์มากขึ้นทุกที ซึ่งในประเทศไทยเอง จะมีลักษณะที่พบคือ การสแกนกับ QR Code ที่ร้านค้านั้นมีอยู่ แล้วชำระเงินด้วยแพลตฟอร์มอย่าง Alipay และ WeChat Pay ได้ ซึ่งถ้าร้านค้าปลีกหรือผู้ประกอบการไทยมีการเปิดใช้งาน ก็จะเพิ่มโอกาสในการจับตลาดนักท่องเที่ยวจีนได้ด้วย
Lazada เชิญชวน SME และผู้ค้าปลีกท้องถิ่น
เป็นกลยุทธ์ที่ทาง Lazada นำมาใช้ ด้วยการปรับค่าคอมมิชชันให้เหลือเพียง 0% เท่านั้น สำหรับสินค้าประเภทในท้องถิ่นหรือแบบ Local เพื่อเป็นการเชิญชวนผู้ค้าปลีกรายย่อยและท้องถิ่นให้เข้ามานำเสนอขายสินค้าในราคาที่ต่ำลง
แต่ในทางกลับกัน มันก็ส่งผลกระทบที่ทำให้ราคาสินค้าถูกลงมาก จนแทบจะเป็นการฆ่าผู้ค้าปลีกในช่องทางอื่นไปเลยเหมือนกัน
แพลตฟอร์มอื่นก็กำลังเริ่มมา
ในช่วงที่การแข่งขันอยู่ในยุคบุกเบิก จึงเป็นเรื่องของผลประโยชน์ระหว่างผู้ค้าหน้าใหม่และผู้ใช้บริการว่าจะสามารถตอบสนองได้แค่ไหน
สำหรับผู้เล่นรายสำคัญ นอกจาก Lazada ก็มีแพลตฟอร์มอื่นที่กำลังเริ่มสร้างชื่อเสียงและปั้นแบรนด์ของตนเองมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น Shopee จากสิงคโปร์ และ Chilindo ของคนไทย นอกจากนี้ยังมีช่องทางการค้าออนไลน์ที่โยงกับ Line ก็มี Kamart ที่กำลังมาแรงเช่นกัน
มีระบบเปิดร้านและบริการส่งสินค้าที่รวดเร็ว
เป็นจุดแข็งสำคัญของ Lazada นอกจากใช้เวลารวดเร็ว ภายใน 1-2 วัน ทาง Lazada ยังจะช่วยรับผิดชอบกรณีที่เกิดความผิดพลาดในการส่งสินค้าด้วย
มีเปิดอบรม ระบบชัดเจน
เนื่องจากเป็นเรื่องของการเซ็นข้อตกลงร่วมกันกับรัฐบาลไทย ที่ทำให้อาลีบาบาเข้ามาเปิดโรงเรียนสอนธุรกิจอีคอมเมิร์ซในประเทศไทย โดผ่านทาง Taobao University และยังเปิดอบรมสอนการใช้งานและเปิดร้านสำหรับ Lazada ไปด้วย ยิ่งช่วยเพิ่มผู้ค้าให้มากและหลากหลายขึ้นอีกทางหนึ่งด้วย
สำหรับร้านค้าปลีกที่ต้องการเข้าร่วม ก็สามารถลงทะเบียนเป็นผู้ค้าได้อย่างง่าย ๆ ด้วยการกรอกข้อมูลสั้นๆเพียงแต่หน้าเดียว สำหรับรายละเอียดอื่น จะนำเสนอในโอกาสต่อไปครับ