มีความแตกต่างระหว่าง อีคอมเมิร์ซ ทั้งสองรูปแบบซึ่งกำลังได้รับความนิยมและเป็นเทรนด์กระแส หลักของจีนในเวลานี้ โดยมีลักษณะของประเภทสินค้าและบริการที่เหมาะกับแต่ละช่องที่ต่างกันไป ซึ่งเรื่องนี้ถือว่าเป็นข้อมูลสำคัญที่ผู้ประกอบการไทยควรอัพเดท หากต้องการบุกตลาดจีนออนไลน์ ครับ
มารู้จักความแตกต่างของ เว็บอีคอมเมิร์ซ ทั้งสองช่องทางกันเพิ่มเติมครับ ว่าทั้งสองช่องทาง มีจุดเด่นแบบไหนบ้าง และแบบไหนที่กำลังมาแรงมากกว่ากัน
อีคอมเมิร์ซ B2C และ C2C
อีคอมเมิร์ซแบบ B2C (Business-to-Consumer) เป็นหนึ่งในรูปแบบของการทำธุรกิจทางอินเทอร์เน็ตที่เป็นการ ผสมผสานข้อเด่นระหว่างการตลาดออนไลน์และออฟไลน์มาผสานเข้าด้วยกัน โดยเป็นการสื่อสารระหว่าง ผู้ผลิต หรือเจ้าของธุรกิจ กับผู้บริโภค ตามชื่อเรียกนั่นเอง โดยรูปแบบแล้ว เว็บแบบ B2C คือการที่แบรนด์จะเป็นผู้ขายสินค้าให้ผู้บริโภคทั่วไปผ่านทางเว็บอีคอมเมิร์ซซึ่งเจ้าของ แบรนด์หรือบริษัทก็ต้องมีการจดทะเบียนนิติบุคคล หรือเป็นกิจการที่มียี่ห้อสินค้าเป็นของตนเอง ไม่ได้เป็นผู้ค้าอิสระ
ข้อดีที่สำคัญของ B2C คือ การมีแบรนด์สินค้า จึงเพิ่มความน่าเชื่อถือให้ลูกค้าได้มากกว่า ที่สำคัญคือสามารถสร้าง Value เพิ่มคุณค่าให้สินค้าได้ ซึ่งแน่นอนว่าในเวลานี้ช่องทางดังกล่าวก็กำลังเป็นที่ นิยมมากในประเทศจีน สำหรับเว็บอีคอมเมิร์ซแบบ B2C ที่ได้รับความนิยม เช่น Tmall และ JD.com ซึ่งอยู่ในเครือของ Alibaba และ Jingdong นอกจากนี้ยังมีรายงานจาก Chininternetwatch ที่ระบุว่า มูลค่ารวมของอีคอมเมิร์ซ B2C ในจีนเวลานี้ กำลังมีมูลค่าขึ้นไปแตะถึงหลัก 2.26 แสนล้านเหรียญสหรัฐ โดยภาพรวมการเติบโตของอีคอมเมิร์ซจีนในสิ้นปี 2018 อยู่ที่ราว 24.8% และคาดการณ์ว่า จะสามารถขึ้นไป แตะมูลค่าการตลาดสูงถึง 9.7 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ โดยคาดว่าจะสามารถเพิ่มมูลค่าในตลาดได้อีกประมาณ 1.44 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ
สำหรับกลุ่มสินค้าที่ได้รับความนิยมสูงของเว็บ B2C ได้แก่กลุ่มของ เสื้อผ้า แฟชั่น ไลพ์สไตล์ ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ เครื่องสำอาง สกินแคร์ ไปจนถึงกลุ่มเฟอร์นิเจอร์ ของตกแต่งบ้าน อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ เป็นต้น ในปัจจุบัน เว็บไซต์ Tmall ในเครือของอาลีบาบา ถือว่าเป็นผู้นำของตลาด ตามด้วย JD.com ในอันดับรองลงมา ส่วนอันดับอื่น ๆ เช่น Suning Vipshop และ Gome ซึ่งหากนับเฉพาะแค่เว็บ Tmall และ JD.com ก็ครองส่วนแบ่งตลาดแล้วมากกว่า 81.9% นี่จึงเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ที่เว็บ B2C อื่นๆ จะเจาะได้ยากกว่า
C2C อีคอมเมิร์ซ สำหรับ ผู้บริโภค สู่ ผู้บริโภค
ด้วยรูปแบบของเว็บอีคอมเมิร์ซที่เรียกว่า C2C (Customer to Customer) เป็นการเปิดโอกาส ให้ทุกคนสามารถมีหน้าร้านขายของออนไลน์เป็นของตนเองได้อย่างง่าย ๆ รูปแบบนี้จะมีความแตกต่างไปจาก B2C เพราะ C2C เป็นช่องทางที่ผู้บริโภค หรือเจ้าของผลิตภัณฑ์รายย่อยหรือผู้ที่ต้องการเริ่มทดลองตลาด บนโลกออนไลน์ก็สามารถเริ่มขายสินค้าในอินเทอร์เน็ตได้
รูปแบบนี้ไม่เพียงได้รับความนิยมทั่วโลก แต่ในจีนถือว่าเป็นช่องทางสำคัญที่คนจีนเข้ามาเปิดร้านค้า บนโลกอินเทอร์เน็ตของตนเอง หรือ ทดลองทำการตลาดทางออนไลน์อย่างง่าย ๆ ซึ่งช่องทางนี้สามารถ ช่วยเพิ่มรายได้ เป็นรายได้เสริม หรือกระทั่งทำเป็นธุรกิจหลัก ที่สามารถบริหารและขายของเองได้จากในบ้าน เพียงแค่มีคอมพิวเตอร์หรือมือถือเครื่องเดียวเท่านั้น แล้วที่สำคัญคือ หน้าร้านสำหรับเว็บอีคอมเมิร์ซแบบ C2C จะไม่มีค่าใช้จ่าย
ด้วยความที่ว่า ใครก็สามารถขายของออนไลน์ได้ ทำให้ช่องทาง C2C ในจีนอยู่ในระหว่างการเติบโต อย่างไม่หยุดยั้ง และเป็นตลาดใหญ่ของโลกเวลานี้ด้วย ในรายงานปี 2018 ที่ผ่านมา พบว่าในจีนมีส่วนแบ่งของ ช่องทางธุรกิจแบบ C2C ด้วยช่องทางอีคอมเมิร์ซเพิ่มขึ้น ครองสัดส่วนมากกว่า 56.2% ซึ่งหากย้อนกลับไป พบว่าสัดส่วนของ C2C จากเมื่อปี 2013 ที่ผ่านมา มีเพียงแค่ 40.4% เท่านั้นนับว่าเป็นช่องทางธุรกิจบน อินเทอรเน็ตที่มีการเติบโตอย่างมากในระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมานี้
แน่นอนว่า ปัจจัยสำคัญที่สุดทำให้ช่องทางธุรกิจแบบ C2C ครองส่วนแบ่งมากขึ้นนอกเหนือจากความ ที่เว็บกลุ่มนี้เป็นที่นิยมและเข้าถึงคนจีนเองได้ง่ายแล้วเป็นเพราะนี่คือช่องทางรอดของผู้ประกอบการรายย่อยที่ต้องการมีหน้าร้านเป็นของตนเองบนอินเทอร์เน็ต หรืออาจเป็นผู้บริโภคเองที่ต้องการนำสินค้ามาขายเองได้ เช่น ผ่านทางเว็บ Taobao ในเครืออาลีบาบา ไปจนถึงเว็บช่องทางอื่น ๆ ที่มีการจับกลุ่มตลาดที่เฉพาะตัว มากขึ้น เช่น เว็บ Pinduoduo ซึ่งเน้นที่ตลาดของกลุ่มผู้มีรายได้น้อย
สำหรับเว็บอีคอมเมิร์ซแบบ C2C ได้รับความนิยมจากกลุ่มสินค้าประเภทท้องถิ่น ค้าปลีก โดยเฉพาะกลุ่มของ เสื้อผ้า ไลพ์สไตล์ เป็นกลุ่มที่มีสัดส่วนในตลาดเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด โดยตั้งแต่ปี 2013 จากเดิมมีมูลค่าราว 1 แสนล้านหยวน เมื่อถึงปี 2017 ก็เพิ่มขึ้นเป็น 9.85 แสนล้านหยวนรวมถึงปัจจัยคือด้าน การยกระดับของบริการจัดส่งสินค้า Logistic ที่เข้าถึงผู้คนในชนบทได้รวดเร็วและสะดวก มากขึ้น
แล้วแบบไหนที่นิยมมากกว่า
ตอนนี้กำลังเป็นช่วงเวลาที่ ทุกคนสามารถขายของออนไลน์ หรือทำการตลาดบนอินเทอร์เน็ตได้ เพราะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป ช่องทางก็มีแล้วด้วย นั่นทำให้การแข่งขันรุนแรงมากขึ้น
ถ้าย้อนกลับไปสำรวจตลาดนี้ในปี 2019 ที่ผ่านมา พบว่าในประเทศจีนมีส่วนของแบ่งของเว็บ อีคอมเมิร์ซแบบ C2C ที่เพิ่มมากขึ้น และครองสัดส่วนมากกว่า 57% ซึ่งจุดนี้อาจแสดงถึงการเข้าถึงของ ผู้ประกอบการรายย่อย และการเห็นโอกาสของผู้บริโภคเองที่นำสินค้ามาขาย ไม่ว่าจะเพื่อทดลองหรือ ทำรายได้เพิ่มเติม ที่สำคัญคือ ไม่จำเป็นต้องอยู่ในรูปบริษัท หรือจดทะเบียนนิติบุคคล ในภาพรวมแล้ว ดูเหมือนว่า C2C จะเป็นช่องทางอีคอมเมิร์ซที่มาแรงมากกว่า ในขณะที่ B2C ก็มีความยากในแง่ของแบรนด์ ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งในการขายเช่นกัน
===============================================
สามารถติดตามเรา PSO ( Passive Selling Online ) ได้หลายช่องทางดังนี้
Facebook Page: passivesellingonline
LINE: @psocourse (อย่าลืมใส่เครื่องหมาย @ ด้วยนะครับ)