จีนครองแชมป์ยื่นจดสิทธิบัตร Blockchain สูงสุดในโลก

ตั้งหลักออนไลน์เชื่อว่าหลายท่านคงรู้จักและได้ยินเรื่องของ Blockchain กันมาบ้างครับ ซึ่งวันนี้เราอยากให้ข้อมูลน่าสนใจ เนื่องจาก Blockchain กำลังกลายเป็นอนาคตใหม่ของโลก ที่ไม่เพียงแค่ได้รับความสนใจและมีการพัฒนากันอย่างมากทั้งจากในภาครัฐและภาคเอกชนเท่านั้น แต่ก็มีรายงานที่ชี้ว่า
Blockchain

จีนครองแชมป์ยื่นจดสิทธิบัตร Blockchain สูงสุดในโลก

          ตั้งหลักออนไลน์เชื่อว่าหลายท่านคงรู้จักและได้ยินเรื่องของ Blockchain กันมาบ้างครับ ซึ่งวันนี้เราอยากให้ข้อมูลน่าสนใจ เนื่องจาก Blockchain กำลังกลายเป็นอนาคตใหม่ของโลก ที่ไม่เพียงแค่ได้รับความสนใจและมีการพัฒนากันอย่างมากทั้งจากในภาครัฐและภาคเอกชนเท่านั้น แต่ก็มีรายงานที่ชี้ว่า เวลานี้ประเทศจีนได้กลายเป็นประเทศที่ครองอันดับ 1 ในการยื่นจดสิทธิบัตรทางด้าน Blockchain สูงสุดของโลก โดยเริ่มนับตั้งแต่ปี 2015-2018 อ้างอิงจากรายงานของ Global Blockchain Enterprise Patent Ranking (IPRdaily report) และ https://finance.ifeng.com

Blockchain คืออะไร
Blockchain คือ นวัตกรรมเทคโนโลยีในการจัดเก็บข้อมูลรูปแบบหนึ่ง มีลักษณะเป็นบล็อกเรียงต่อกันเป็นสาย ซึ่งแต่ละบล็อกก็จะมีชุดข้อมูลที่มีลักษณะสามารถเชื่อมโยงไปยังบล็อกต่าง ๆ ก่อนหน้าได้
นี่จึงเป็นที่มาของการเรียกว่า Blockchain
ใช้ทำอะไรได้บ้าง
Blockchain สามารถนำมาใช้ระบบต่าง ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับเครือข่ายและข้อมูลที่ต้องเชื่อมโยงขนาดใหญ่ ซึ่งประยุกต์ไปใช้ได้กับในหลากหลายวงการ เช่น การเงิน ธนาคาร การขนส่ง Logistics ข้อมูลข่าวสาร เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นต้น
ตัวอย่างเช่น เราสามารถใช้มันเพื่อติดตามเส้นทางของการขนส่งสินค้า ทำให้เราสามารถทราบได้ทันทีว่า สินค้ารายการไหนกำลังถูกส่งออกมาจากคลังสินค้าที่ไหน ส่งให้ใคร แล้วยังตรวจสอบได้ว่า สินค้านั้นหมดอายุเมื่อใด ดังนั้นถ้ามีกรณีที่สินค้ามีปัญหา ก็สามารถสืบย้อนกลับไปได้ทันทีว่าติดขัดที่ตรงไหน
ที่สำคัญคือ ข้อมูลที่อยู่ใน Blockchain ไม่สามารถลบออกไปได้ เพราะทุกคนมีข้อมูลนี้เหมือนกันหมด ถ้าจะลบก็ต้องตามลบทุกคนซึ่งทำไม่ได้อยู่แล้ว และยังสามารถติดตามการบันทึกข้อมูลย้อนหลังทั้งหมดได้ ช่วยให้ธุรกิจและกิจการของเราโปร่งใสมากขึ้น
ไม่เพียงเท่านั้น Blockchain ยังมีส่วนช่วยลดปัญหาการรวมศูนย์จากส่วนกลาง ขจัดปัญหาด้านทรัพยากรและความไม่โปร่งใสได้ด้วย
China holds patents for Blockchain
จีนกับอนาคตของ Blockchain
ในเวลานี้ทางรัฐบาลจีนได้เริ่มตั้งนิคมอุตสาหกรรม ”China HangZhou Blockchain Industrial park” เพื่อให้เป็นศูนย์รวมของบริษัททางด้าน Blockchain โดยเฉพาะ ไม่เพียงเท่านั้นยังมีการลงทุนในหลายเมือง มากขึ้น
ปัจจุบัน ยักษ์ใหญ่ของจีนเช่น Alibaba JD.com ได้มีการนำเทคโนโลยีด้านนี้เข้ามาช่วยสำหรับการตรวจสอบการกระจายสินค้า การขนส่ง การหมดอายุของสินค้า และอื่น ๆ อีกด้วย
นอกจากนี้ จีนยังมีการยื่นขอจดสิทธิบัตรมากกว่า 284 รายการ จากในปี 2017 เหนือกว่าสหรัฐอเมริกาซึ่งขอยื่นจดที่ 112 รายการ
ส่วน Alibaba ยังขึ้นแท่นเป็นบริษัทที่มีการยื่นจดสิทธิบัตรในด้านนี้สูงสุด มากกว่า 90 รายการ แซงหน้า IBM ยักษ์ใหญ่ทางด้าน IT ของสหรัฐอเมริกาและของโลก
นอกจากนี้ ที่กรุงปักกิ่ง ยังมีการลงทุนกับ Blockchain คือการตั้งกองทุน Beijing Blockchain Ecosystem Fund เป็นมูลค่ากว่า 1,000 ล้านหยวน เพื่อที่จะนำไปใช้กับอุตสาหกรรมด้านต่าง ๆ ของประเทศต่อไป
ทำไมต้อง Blockchain
การเร่งพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีทางด้าน Blockchain ไม่ได้เป็นแค่กระแสที่มาเพียงชั่วคราว แต่กำลังถูกมองว่าเป็นทิศทางใหม่ของโลก ซึ่งจีนก็เป็นหนึ่งในชาติมหาอำนาจที่ให้ความสำคัญในด้านนี้อย่างเต็มที่ โดยแหล่งอ้างอิงข้อมูลดังกล่าวชี้ว่า ภาครัฐและภาคเอกชนของจีน ได้ร่วมกันลงทุนด้านเทคโนโลยี Blockchain โดยในส่วนของภาครัฐนั้นได้มีการให้ทุนและอัดเม็ดเงินให้กับภาคเอกชนและโครงการต่าง ๆ เพื่อทำการวิจัยอย่างจริงจังด้วย
ทั้งนี้ หากย้อนกลับไปดูเส้นทางการพัฒนาทางด้าน Blockchain ของจีน ประธานาธิบดีจีน สีจิ้นผิง ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก เขาเคยกล่าวว่า เทคโนโลยี Blockchain เป็นกญแจสำคัญในการปฏิวัติด้านเทคโนโลยีในศตวรรษที่ 21 และต่อไป ซึ่งจีนเห็นว่านี่คือโอกาสสำคัญที่ไม่ควรพลาด เช่นเดียวกับปัญญาประดิษฐ์ A.I. ที่จีนได้ก้าวเข้ามาทางด้านการวิจัยอย่างเต็มตัว
ที่สำคัญคือ ในตลาดโลกที่สหรัฐอเมริกาครอบครองอยู่ในหลายพื้นที่นั้น การรุกทางด้านนี้จะเป็นโอกาสสำคัญที่จะทำให้จีนแข่งขันกับสหรัฐอเมริกาได้อย่างเต็มที่ด้วย
ซึ่งผู้ประกอบการไทยก็มีความจำเป็นที่จะต้องอัพเดทความคืบหน้านี้ต่อเช่นกันครับ

สามารถติดตามเรา PSO ( Passive Selling Online ) ได้หลายช่องทางดังนี้
Facebook Page: passivesellingonline
LINE: @psocourse (อย่าลืมใส่เครื่องหมาย @ ด้วยนะครับ)

แบ่งปันเพื่อนของคุณ :

Facebook
Twitter
Pinterest
LinkedIn