Apple รับผลกระทบจากสงครามการค้า อาจต้องย้ายฐานการผลิต iPhone ในจีน

เพราะอาจจะต้องเกิดการย้ายฐานการผลิตจากในจีนไปที่สหรัฐอเมริกา แล้วมันก็จะกระทบต่อราคาขายของเครื่อง iPhone ที่อาจจะต้องพุ่งสูงขึ้นอีกก็เป็นได้ แล้วถ้าเป็นจริง ทิศทางของเครื่องมือถือก็อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงอีกรอบก็ได้ครับ มาลองไล่ลำดับเรื่องราวกันดูครับ

Apple รับผลกระทบจากสงครามการค้า อาจต้องย้ายฐานการผลิต iPhone ในจีน

เพราะอาจจะต้องเกิดการย้ายฐานการผลิตจากในจีนไปที่สหรัฐอเมริกา แล้วมันก็จะกระทบต่อราคาขายของเครื่อง iPhone ที่อาจจะต้องพุ่งสูงขึ้นอีกก็เป็นได้
แล้วถ้าเป็นจริง ทิศทางของเครื่องมือถือก็อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงอีกรอบก็ได้ครับ มาลองไล่ลำดับเรื่องราวกันดูครับ
สงครามการค้าทำพิษ กำแพงภาษี 25%
เรื่องนี้ถือว่าเป็นผลกระทบลูกโซ่โดยตรง หลังจากโรงงานและบริษัท Partner หลักของ Apple ในประเทศจีน อาจจะต้องรับผลกระทบจากสงครามการค้าของยักษ์ใหญ่ทั้งสองประเทศที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมา เนื่องจากทาง Partner ในจีนของ Apple อาจจะต้องโบกมือลา ถ้าหากทางสหรัฐยังคงยืนกรานตั้งกำแพงภาษี จาก 10% เป็น 25% ตามที่เคยประกาศออกมาก่อนหน้านี้นั่นเอง
สำหรับบรรดาโรงงานและผู้ผลิตในประเทศจีนก็ได้ออกมากล่าวเมื่อปลายปี 2018 ที่ผ่านมาว่า ที่จริงแล้วพวกเขายังสามารถขายผลิตภัณฑ์ของ Apple ในจีนต่อไปได้ ถ้าหากว่ากำแพงภาษีจะยังคงอยู่ที่ 10% แต่ถ้าหากทางสหรัฐยังคงไม่เปลี่ยนแปลงนโยบายที่ประกาศจะขึ้นกำแพงภาษีนำเข้าจากจีนเป็น 25% ตามที่เคยประกาศมาก่อนหน้านี้ ก็จะทำให้บริษัท Apple และ Partner ทั้งหมดก็คงจะต้องได้รับผลกระทบอย่างเต็มที่ และอาจจะจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกในระยะยาว
สำหรับภาษี 10% ก็มีผลทำให้กำไรต่อหุ้นของ Apple (EPS : earning-per-share) ร่วงลงมาประมาณ 1% ซึ่งมีการคาดการณ์ว่า ภายในปี 2019 ที่จะถึงนี้ Apple จะมีกำไรต่อหุ้น EPS อยู่ที่ 13.32 เหรียญสหรัฐ แต่ถ้าหากว่ามาตรการตั้งกำแพงภาษีขึ้นไป 25% จริงละก็ หุ้นของ Apple ก็อาจจะร่วงลงมาอยู่ที่ 2.50 เหรียญสหรัฐ
Partner ของ Apple ในจีน
สำหรับบริษัทที่เป็น Partner หลักของ Apple ในประเทศจีน ก็คือ Hon Hai Precision Industry ปัจจุบันถือว่าเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ที่มีการดำเนินธุรกิจไปทั่วโลก แต่ในเวลานี้พวกเขาอาจจะได้รับผลกระทบอย่างเต็มตัว หลังจากมาตรการตั้งกำแพงภาษีสินค้านำเข้าจากจีนของสหรัฐ
ซึ่งนี่จะกระทบไปมือถือ iPhone และแล็ปท็อปของ Apple ที่มีฐานะการผลิตสำคัญในจีนด้วย
อาจมีคำถามว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้น
เนื่องจากบริษัท Apple เลือกใช้โรงงานผลิตสินค้าส่วนใหญ่จากจีนมาตั้งแต่สมัยของ Steve Jobs และเขาก็เคยยืนกรานที่จะให้ Apple ในฐานการผลิตจากโรงงานจีนมากกว่าในสหรัฐอเมริกา
ปัจจุบัน นี้จีนถือว่าเป็นเสมือนกับโรงงานโลก ที่มีการผลิตสินค้าด้านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยีที่ใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นสาเหตุที่ทำให้ Job เลือกฐานการผลิตในจีน รวมถึงความสามารถของแรงงานจีนที่สามารถทำงานล่วงเวลาได้มากกว่า และเนื่องจากแรงงานจีนมีจำนวนมหาศาล การแข่งขันสูง ก็ทำให้แรงงานในจีนมีความสามารถในการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ซับซ้อนในโรงงานได้ดีกว่าในสหรัฐอเมริกาด้วย
ในช่วงที่ผ่านมา บริษัท Apple ใช้โรงงานในจีนเป็นฐานการผลิตมาเป็นเวลานาน โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์หลักของพวกเขา ไม่ว่าจะเป็น iPhone, iPad, Macs ซึ่งเวลานี้มีสายการผลิตกับบริษัทมากกว่า 100 แห่ง แต่หลังจากการตั้งกำแพงภาษีดังกล่าว ก็ทำให้โรงงานในจีน โดยเฉพาะ Partner หลักอย่าง Honhai ไม่พอใจนัก และได้รวมตัว Partner ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการสายการผลิตเพื่อขอคำอธิบายจาก Apple ซึ่งก็ไม่ได้รับคำตอบแต่อย่างใด
สรุปแล้ว iPhone ผลิตที่ไหน
สถานการณ์เวลานี้ค่อนข้างซับซ้อน โดยเมื่อต้นปี 2018 ที่ผ่านมา มีการให้สัมภาษณ์สื่อจาก Tim Cook ในฐานะ CEO ของ Apple ได้กล่าวถึงมาตรการเพิ่มการผลิตเครื่อง iPhone ในประเทศจีน แต่หลังจากนั้นไม่กี่เดือนต่อมา เขาก็ได้ออกมาให้สัมภาษณ์ใหม่ว่า
“iPhone ไม่ได้ทำในสหรัฐอเมริกา”
ที่จริงหลายฝ่ายก็ทราบดีอยู่แล้วว่า ถ้าเราแยกส่วนประกอบแต่ละชิ้นออก จะพบว่าอุปกรณ์ในเครื่อง iPhone ที่สำคัญเช่น กระจกทัชสกรีน ผลิตจากโรงงานในสหรัฐอเมริกา แต่ส่วนที่มีความสำคัญกว่าอย่างชิป ซึ่งเป็นหัวใจในการปฏิบัติการของเครื่องนั้น ผลิตจากโรงงานในจีน
ทางแก้ปัญหา
ประธานาธิบดีโดนัลด์ทรัมป์ ได้ออกมาโพสต์ Twitter ส่วนตัวโดยมีใจความสำคัญว่า
“เวลานี้สินค้าของ Apple มีราคาแพงขึ้น สาเหตุก็เพราะพวกเขาเลือกฐานการผลิตจากโรงงานในจีน ดังนั้นทางแก้ปัญหาคือ Apple ควรย้ายฐานการผลิตมาไว้ที่สหรัฐอเมริกามากกว่า”
อย่างไรก็ตาม จากสงครามการค้าระหว่างจีน-สหรัฐที่เกิดขึ้น ก็ทำให้บริษัทในสหรัฐเองก็กำลังดูท่าทีว่าทาง Apple จะต้องย้ายฐานการผลิตกลับมาที่สหรัฐจริงหรือไม่

สามารถติดตามเรา PSO ( Passive Selling Online ) ได้หลายช่องทางดังนี้
Facebook Page: passivesellingonline
LINE: @psocourse (อย่าลืมใส่เครื่องหมาย @ ด้วยนะครับ)

แบ่งปันเพื่อนของคุณ :

Facebook
Twitter
Pinterest
LinkedIn