Tencent กับทิศทางของ JD.Central สู้ศึก Alibaba

สำหรับสองบริษัทชื่อดังอย่าง Tencent และ Alibaba ได้ชื่อว่าเป็นสองบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านนวัตกรรมเทคโนโลยี ที่มีมูลค่าสูงสุดของจีน ซึ่งในช่วงปี 2016-2018 ที่ผ่านมา โดยที่มีการแข่งขันกันในหลายตลาด แต่สำหรับพื้นที่ของ E-Commerce ในประเทศจีนเวลานี้ Alibaba คือหมายเลขหนึ่งที่ยังไม่มีใครโค่นล้มได้ ในขณะที่ Tencent ก็พยายามเข้าแย่งชิงส่วนแบ่ง โดยผ่านทาง JD.com ที่เป็นคู่แข่งในด้านนี้ของ Alibaba

Tencent กับทิศทางของ JD.Central สู้ศึก Alibaba

ตั้งหลักออนไลน์ขอพาทุกท่านมาดูการแข่งขันในตลาด E-Commerce จากจีน และทิศทางน่าสนใจ จากการเข้ามารุกในตลาดนี้อย่างเต็มตัวของ Tencent

สำหรับสองบริษัทชื่อดังอย่าง Tencent และ Alibaba ได้ชื่อว่าเป็นสองบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านนวัตกรรมเทคโนโลยี ที่มีมูลค่าสูงสุดของจีน ซึ่งในช่วงปี 2016-2018 ที่ผ่านมา โดยที่มีการแข่งขันกันในหลายตลาด แต่สำหรับพื้นที่ของ E-Commerce ในประเทศจีนเวลานี้ Alibaba คือหมายเลขหนึ่งที่ยังไม่มีใครโค่นล้มได้ ในขณะที่ Tencent ก็พยายามเข้าแย่งชิงส่วนแบ่ง โดยผ่านทาง JD.com ที่เป็นคู่แข่งในด้านนี้ของ Alibaba

ซึ่งจากสถานการณ์ปัจจุบัน Tencent เริ่มนำ JD.com เข้ามาตีตลาดในอาเซียนมากขึ้น ขณะที่ Alibaba ก็ถือว่าเป็นผู้เล่นใหญ่ในอาเซียน ผ่านทาง Lazada นี่จึงเป็นเสมือนศึกตัวแทนระหว่างสองค่ายใหญ่ของจีน

ความน่าสนใจอยู่ตรงที่ JD.com เริ่มมีส่วนแบ่งรายได้ในตลาดนี้เพิ่มขึ้น และกลายเป็นทัพหน้าสำคัญของ Tencent ในการรุกเข้าพื้นที่ซึ่ง Alibaba ครอบครองอยู่มากกว่า 70% อยู่ก่อนหน้านี้

แต่ก่อนอื่นมารู้จักกับ JD.com และโมเดลการตลาดให้มากขึ้นกันสักนิดกันครับ

ที่มาของบริษัท JD.com ถือว่าไม่ธรรมดา เพราะผู้ก่อตั้งคือ Richard Liu ได้รับการยกย่องอย่างมากว่าเป็นหนึ่งในผู้ประกอบการและ Innovator ที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกลและประสบความสำเร็จมากที่สุดคนหนึ่งของจีนในเวลานี้

แต่เดิม แนวทางการตลาดของ JD.com จะเป็นการทำตลาดในเชิง Aggressive หมายถึงเน้นการรุกมากกว่า Alibaba

จุดเด่นสำคัญคือ พวกเขามีการลงทุนทางธุรกิจที่คล้ายคลึงกับ Amazon ยักษ์ใหญ่จากสหรัฐอเมริกา นั่นคือการให้ความสำคัญกับบทบาทของตนเองในการเป็นผู้จัดจำหน่ายสินค้าและเป็นร้านค้าด้วยตนเองด้วย ซึ่งทาง JD.com จะให้ความสำคัญกับการลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ ที่มีมูลค่าสูง ไปจนถึงการทุ่มการลงทุนกับคลังสินค้า ระบบ Logistics ซึ่งทุกวันนี้ก็มีศูนย์กระจายสินค้าในจีนเป็นจำนวนมากกว่า 7,000 แห่ง และมีพนักงานขนส่งสินค้ามากกว่า 70,000 คน

จุดแข็งอีกประการของบริษัทคือ สามารถจัดส่งสินค้าได้ภายในเวลาแค่ 1 วันในทุกเมืองและทุกมณฑลของจีน ในแง่นี้ทำให้ JD.com แตกต่างจาก Alibaba ที่ใช้โมเดลธุรกิจโยงกับผู้ประกอบการรายย่อย หรือ SME รายต่างๆให้เข้ามาใช้บริการเป็นช่องทางจัดจำหน่ายสินค้า ในขณะที่ JD คือผู้บุกเบิกการจัดจำหน่ายสินค้าเองเหมือนกับ Amazon ของสหรัฐอเมริกา

อย่างไรก็ตาม ปัญหาของ JD.com ก็คือการเป็นผู้จัดจำหน่ายสินค้าเอง ทำให้ยังไม่สามารถครอบคลุมสินค้าที่หลากหลายหรือเข้าถึงผู้ประกอบรายย่อยได้เหมือนกับ Alibaba ที่วางตัวเองเป็นร้านค้าทางออนไลน์เป็นหลัก อีกทั้งชื่อเสียงของแบรนด์เองก็ยังไม่เทียบเท่ากับ Alibaba ซึ่งเป็นเบอร์ 1 ในด้านนี้

อย่างไรก็ตาม หากดูย้อนผลประกอบการในหลายปีที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2014 จะพบว่า JD.com มีรายได้เพิ่มขึ้นเป็น 37.5 พันล้านดอลลาร์ โดยเพิ่มขึ้นจาก 28 พันล้านดอลลาร์ในปี 2014 ส่วนแบ่งตลาดในประเทศจีนก็เพิ่มขึ้นเป็น 25% ในปี 2016 โดยเพิ่มขึ้นจาก 18% ณ สิ้นปี 2014 และถ้าการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานของหลิวเริ่มสร้างผลตอบแทนได้ การเติบโตภายในประเทศของ Alibaba ในอนาคตก็อาจตกอยู่ในความเสี่ยงอย่างช่วยไม่ได้

แล้วในปัจจุบันนี้ ก็คงไม่เกินเลยไปถ้าจะกล่าวว่า JD.com ซึ่งมี Tencent เป็นทั้งผู้ร่วมลงทุนและแบ็คอัพรายสำคัญ ได้กลายมาเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวที่สุดสำหรับจ้าวตลาดอย่าง Alibaba แล้วก็ไม่อาจจะนิ่งนอนใจได้อีกต่อไป

สำหรับในประเทศไทยเวลานี้ พวกเขาก็ได้เข้ามาจับมือร่วมกับเครือ Central เพื่อขยายช่องทางธุรกิจไปแล้ว แต่ก็คงต้องจับตาดูต่อไปว่า JD.Com จะสามารถรุกคืบทางการตลาดอะไรให้เกิดขึ้นในวงการ E-Commerce ได้บ้าง โดยเฉพาะในภูมิภาคอาเซียน

 =============================================

สามารถติดตามเรา PSO ( Passive Selling Online ) ได้หลายช่องทางดังนี้
Facebook Page: passivesellingonline
LINE: @psocourse (อย่าลืมใส่เครื่องหมาย @ ด้วยนะครับ)

แบ่งปันเพื่อนของคุณ :

Facebook
Twitter
Pinterest
LinkedIn