ตั้งหลักออนไลน์ ขอพามาอัพเดทเรื่องของการแข่งขันในตลาด Retail หรือค้าปลีกทางออนไลน์ในจีนบ้าง โดยเฉพาะศึกระหว่างสองยักษ์ใหญ่ของจีนอย่าง Tencent และ Alibaba
เรื่องนี้มีรายงานที่มาจาก Technote เกี่ยวกับการรุกคืบในตลาด Retail(ค้าปลีก) ของสองยักษ์ใหญ่ในวงการเทคโนโลยีและอีคอมเมิร์ซของจีนอย่าง Tencent เจ้าของ WeChat และ Alibaba เจ้าของ Alipay ซึ่งในเวลานี้กำลังขับเคี่ยวและเปิดศึกกันในตลาด Retail กันมากขึ้น
ทำไมถึงเป็น Retail ???
แน่นอนครับ เพราะมันคือช่องทางธุรกิจที่เกี่ยวกับ ปากท้อง การบริโภค และชีวิตประจำวันของมนุษย์ เป็นช่องทางการจำหน่ายสินค้าที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ใช้แล้วหมดไป ขายทีหนึ่งคือกระจายออกไปในหลายเมือง และทั่วประเทศ เรียกง่าย ๆ ว่ามันคือธุรกิจในช่องทางของ 7-11 Tesco Lotus
ไม่ต้องแปลกใจว่าทำไมบริษัทที่มีความร่ำรวยอันดับต้น ๆ ของโลก จึงเป็น Amazon ที่ขายสินค้าทางออนไลน์ออกไปทั่วโลก
ดังนั้นการแข่งขันและช่วงชิงพื้นที่ซูเปอร์มาร์เก็ตจึงอาจเป็นหมากสำคัญของ Tencent ที่ต้องจับตาดูต่อไป
สำหรับกลุ่มธุรกิจ Retail หรือธุรกิจค้าปลีก จัดว่าเป็น “พื้นที่” ที่สำคัญมากของ Alibaba ซึ่งในเวลานี้ทางบริษัท Tencent ก็ได้พยายามรุกเข้ามาในตลาดนี้มากขึ้นตั้งแต่ปี 2016-2018
ตรงนี้น่าสนใจครับ เพราะกลยุทธ์ของ Tencent ก็คือการทำสงครามตัวแทน โดยเลือกเข้าไปถือหุ้นใน Super Species ซึ่งเป็นร้านซูเปอร์มาร์เก็ตที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นซูเปอร์มาร์เก็ตแห่งอนาคต นี่จึงเป็นการเปิดศึกทางการค้าและแย่งส่วนแบ่งในตลาด Retail โดยตรง
แต่ Alibaba ก็ไม่ได้อยู่นิ่ง เพราะพวกเขาก็มีแผนการที่จะยกระดับ Retail ของตัวเองอยู่แล้ว โดยเฉพาะช่องทางแบบ New Retail ที่พวกเขาเป็นผู้นำร่อง
สำหรับ New Retail ก็คือการผสมผสานระหว่างร้านค้าแบบ Online และ Offline หรือที่เรียกว่า O2O นอกจากนี้ ยังมีการซื้อซุปเปอร์มาร์เก็ต Hema ซึ่งทาง Tencent เองก็พยายามรุกด้วยการลงทุนด้านนี้เช่นกัน
ส่วนสถานการณ์ของทั้งสองฝั่งเป็นอย่างไรบ้าง
Super Species ถือได้ว่าเป็นโปรเจคซูเปอร์มาร์เก็ตแนวใหม่ที่อยู่ในเครือ Yonghui ซึ่งเป็นธุรกิจด้านซุปเปอร์มาร์เก็ตรายใหญ่ของจีน ปัจจุบันมีอยู่ 20 สาขา ในขณะที่ Hema Supermarket มีอยู่ 17 สาขา
จะเห็นว่า นี่เป็นการเปิดศึกกันระหว่างสองบริการใหญ่ของจีนคือระบบกระเป๋าเงินออนไลน์ E-Wallet คือ WeChatPay และ Alipay ซึ่งเป็นบริการทั้งสองด้านที่คนจีนนิยมใช้กันมากที่สุดในเวลานี้
นอกจากนี้ทาง Tencent ก็ยังเป็นแบ็กอัพรายใหญ่ให้กับ JD.com ซึ่งเป็นเจ้าของเว็บธุรกิจออนไลน์ E-Commerce อันดับสองของจีน และเป็นคู่แข่งโดยตรงกับ Alibaba ด้วย
แล้วไทยมีผลกระทบอะไรบ้างไหม
มีอยู่เหมือนกันครับ เพราะทั้งสองฝ่าย รุกเข้ามาขยายตลาดในไทยอย่างจริงจังแล้ว
Alibaba ใช้ Lazada เป็นหัวหอก เข้ามาจับมือ MOU ร่วมกับรัฐบาลไทย
ส่วน Tencent เข้ามาจับมือกับเครือ Central เริ่มให้บริการ JD Central ซึ่งแม้ว่าจะยังมีกระแสตอบรับไม่ดีนัก แต่ปรากฏว่าในส่วนของ WeChat ซึ่งเป็นบริการหลักของบริษัท สามารถเข้ามากรุยทางได้ดีกว่า
ไม่ต้องแปลกใจว่าทำไมบริษัทที่มีความร่ำรวยอันดับต้น ๆ ของโลก จึงเป็น Amazon ที่ขายสินค้าทางออนไลน์ออกไปทั่วโลก
สำหรับกลุ่มธุรกิจ Retail หรือธุรกิจค้าปลีก จัดว่าเป็น “พื้นที่” ที่สำคัญมากของ Alibaba ซึ่งในเวลานี้ทางบริษัท Tencent ก็ได้พยายามรุกเข้ามาในตลาดนี้มากขึ้นตั้งแต่ปี 2016-2018
ตรงนี้น่าสนใจครับ เพราะกลยุทธ์ของ Tencent ก็คือการทำสงครามตัวแทน โดยเลือกเข้าไปถือหุ้นใน Super Species ซึ่งเป็นร้านซูเปอร์มาร์เก็ตที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นซูเปอร์มาร์เก็ตแห่งอนาคต นี่จึงเป็นการเปิดศึกทางการค้าและแย่งส่วนแบ่งในตลาด Retail โดยตรง
แต่ Alibaba ก็ไม่ได้อยู่นิ่ง เพราะพวกเขาก็มีแผนการที่จะยกระดับ Retail ของตัวเองอยู่แล้ว โดยเฉพาะช่องทางแบบ New Retail ที่พวกเขาเป็นผู้นำร่อง
สำหรับ New Retail ก็คือการผสมผสานระหว่างร้านค้าแบบ Online และ Offline หรือที่เรียกว่า O2O นอกจากนี้ ยังมีการซื้อซุปเปอร์มาร์เก็ต Hema ซึ่งทาง Tencent เองก็พยายามรุกด้วยการลงทุนด้านนี้เช่นกัน
ส่วนสถานการณ์ของทั้งสองฝั่งเป็นอย่างไรบ้าง
Super Species ถือได้ว่าเป็นโปรเจคซูเปอร์มาร์เก็ตแนวใหม่ที่อยู่ในเครือ Yonghui ซึ่งเป็นธุรกิจด้านซุปเปอร์มาร์เก็ตรายใหญ่ของจีน ปัจจุบันมีอยู่ 20 สาขา ในขณะที่ Hema Supermarket มีอยู่ 17 สาขา
จะเห็นว่า นี่เป็นการเปิดศึกกันระหว่างสองบริการใหญ่ของจีนคือระบบกระเป๋าเงินออนไลน์ E-Wallet คือ WeChatPay และ Alipay ซึ่งเป็นบริการทั้งสองด้านที่คนจีนนิยมใช้กันมากที่สุดในเวลานี้
นอกจากนี้ทาง Tencent ก็ยังเป็นแบ็กอัพรายใหญ่ให้กับ JD.com ซึ่งเป็นเจ้าของเว็บ E-Commerce อันดับสองของจีน และเป็นคู่แข่งโดยตรงกับ Alibaba ด้วย
แล้วไทยมีผลกระทบอะไรบ้างไหม
มีอยู่เหมือนกันครับ เพราะทั้งสองฝ่าย รุกเข้ามาขยายตลาดในไทยอย่างจริงจังแล้ว
Alibaba ใช้ Lazada เป็นหัวหอก เข้ามาจับมือ MOU ร่วมกับรัฐบาลไทย
ส่วน Tencent เข้ามาจับมือกับเครือ Central เริ่มให้บริการ JD Central ซึ่งแม้ว่าจะยังมีกระแสตอบรับไม่ดีนัก แต่ปรากฏว่าในส่วนของ WeChat ซึ่งเป็นบริการหลักของบริษัท สามารถเข้ามากรุยทางได้ดีกว่า
